简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:MACD คือ Indicator ประเภท Oscillator สำหรับการเทรด Forex ที่มีประโยชน์ที่หลากหลาย ใช้เทรดตามแนวโน้ม (Trend Following) ในการใช้งาน MACD Indicator จะมีเส้น EMA (Exponential Moving Average) ที่มีค่าต่างกันจำนวน 2 เส้น และ MACD จะเคลื่อนที่อยู่ระหว่างเส้น EMA 2 เส้น ดังนั้น MACD จึงมีค่า 0 เป็นจุดศูนย์กลาง และวิ่งอยู่ในกรอบ
ใครกำลังมองหาโอกาสทำกำไรให้มากขึ้นอยู่ ตามแอดเหยี่ยวมาเลยในการเทรดจะมีเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยทุ่นแรง มันก็คือ Indicator ที่ใช้กันอยู่แล้ว เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มราคาในอนาคต นักเทรดอาจไม่สามารถคาดการณ์ได้เอง ว่าราคาจะขึ้นหรือจะลงใช่ไหม แต่มี Indicator หนึ่ง ที่จะช่วยให้นักเทรดมีประสิทธิภาพในการเทรดมากขึ้น นั่นก็คือ “MACD Indicato” ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้กันแบบเจาะลึกกันเลยครับ
MACD คืออะไร ?
MACD คือ Indicator ประเภท Oscillator สำหรับการเทรด Forex ที่มีประโยชน์ที่หลากหลาย ใช้เทรดตามแนวโน้ม (Trend Following) ในการใช้งาน MACD Indicator จะมีเส้น EMA (Exponential Moving Average) ที่มีค่าต่างกันจำนวน 2 เส้น และ MACD จะเคลื่อนที่อยู่ระหว่างเส้น EMA 2 เส้น ดังนั้น MACD จึงมีค่า 0 เป็นจุดศูนย์กลาง และวิ่งอยู่ในกรอบ จึงสามารถสรุปสูตร MACD ออกมาได้ดังนี้
MACD (+) = แนวโน้มขาขึ้น
MACD (-) = แนวโน้มขาล
MACD ยังแยกออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ เมื่อทั้ง 2 เส้น วิ่งเข้าหากัน เราจะเรียกว่า Convergence แต่หากทั้ง 2 เส้น วิ่งแยกออกจากกัน เราจะเรียกว่า Divergence ส่งผลให้เทรดเดอร์ส่วนใหญ่นิยมใช้ MACD Indicator ช่วงที่ตลาดกำลังเป็น Sideway ด้วย MACD Divergence แต่แท้จริงแล้ว MACD คือ อินดิเคเตอร์อีกตัวหนึ่งที่ใช้วิเคราะห์แนวโน้มได้ดีในช่วงที่ตลาดกำลังเป็นเทรนด์ โดยเฉพาะสายเทรดสั้นอย่าง Day Trading
การใช้ MACD Divergence
การใช้ MACD ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การเข้าใจเรื่อง Divergence ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ลักษณะของ Divergence คือการขัดทิศทางกันของราคากับ Indicator ซึ่งหลักการก็เหมือนกับการทำงานของ RSI เช่น ในขณะที่ราคายังคงลดลงต่อเนื่องเป็น Lower Low แต่ MACD ได้ยกตัวขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว ลักษณะที่ MACD ยกตัวสวนขึ้นมาในแนวโนมราคาขาลง เราจะเรียกสัญญาณจาก MACD นี้ว่า Bullish Divergence ในทางกลับกัน หากราคาเป็นแนวโน้มขาขึ้นต่อเนื่อง แล้ว MACD ไม่ได้ทำจุดสูงสุดใหม่เหมือนราคา เราก็จะเรียกสัญญาณเตือนถึงการมาของขาลงนี้ว่า Bearish Divergence
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปยังถือว่า Divergence เป็นเพียงสัญญาณเตือนเท่านั้น และความเห็นของเทรดเดอร์หลายคน มองว่า สมควรที่จะรอให้เกิดการ Break ราคาทะลุ Trendline ก่อน จึงจะถือว่าเป็นการยืนยันสัญญาณการกลับตัว
ขอบคุณรูปจาก Admirals
ต้องตระหนักไว้เสมอว่า เดิมทีแล้ว MACD ถูกแบบมาใช้กับตลาดที่มีการเคลื่อนไหวในรอบที่ใหญ่ ดังนั้น MACD จึงเหมาะกับการเทรดในไทม์เฟรมตั้งแต่ 4 ชั่วโมวขึ้นไป ต่างๆ ยกเว้นในกรณีที่เราออกแบบกลยุทธิ์มาใช้กับการเทรด Scalping โดยเฉพาะ สำหรับเทรดเดอร์ทั่วไปที่อาจไม่มีเวลาติดตามตลาดมากนัก ไทม์เฟรม 4 ชั่วโมง หรือ Day จะเหมาะสมกว่า แต่คุณก็จำเป็นต้องทดสอบกลยุทธิ์ด้วยตัวของคุณเองว่า มันจะเหมาะสมหรือเข้ากับวิธีคิด ไลฟ์สไตล์ของตัวเองหรือไม่
การตั้งค่า MACD สำหรับเทรด Intraday
การใช้ MACD สำหรับการเทรดภายในวันหรือที่เรียกว่า Intraday นั้น เทคนิคจะเป็นการเพิ่มระยะยาวการคำนวณให้กว้างขึ้น แต่ลดไทม์เฟรมของกราฟลง การตั้งค่า MACD ปกตินั้นจะมีค่า (12,26,9) อย่างที่อธิบายไปในหัวข้อก่อนๆ แต่ Intraday จะตั้งค่า MACD ให้เวลาการคำนวณเพิ่มขึ้น (24,52,9) แต่ลดไทม์เฟรมให้เป็นกราฟ 30 นาที โดยระเทรดตัวอย่าง จะใช้ Indicator และการตั้งค่าดังต่อไปนี้
-เส้นค่าเฉลี่ย Smoothed Moving Average (SMMA) (365, close)
-MACD (24,52,9)
-เพิ่ม Indicator มาอีกชนิด คือ Williams Percent Range (28)
ระบบเทรด MACD ชุดนี้ใช้ได้ผลดีกับไทม์เฟรม 30 นาที และควรใช้กับคู่สกุลเงินหลัก (Major) ซึ่งจะมีสภาพคล่อง ทำให้การวิเคราะห์มีประสิทธิภาพมากกว่าคู่เงินที่สภาพคล่อง ตัวอย่างคู่เงินที่เหมาะกับการเทรดด้วย MACD ได้แก่ EUR/USD, GBP/USD, USD/JPY, USD/CHF, AUD/USD รวมถึงคู่เงินที่มีความผันผวนและการเคลื่อนไหวที่มีกรอบที่กว้าง GBP/JPY, AUD/JPY, USD/JPY, NZD/JPY, and GBP/NZD.
ขอบคุณรูปจาก Admirals
ระบบเทรด MACD สำหรับ Inraday มีกฎการเทรดดังต่อไปนี้
สัญญาณ Buy
ราคาต้องอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย SMMA
MACD ต้องต่ำกว่าเส้น 0
ใช้ William % Range ในการให้สัญญาณการเทรด โดยจะกลับมาเทรด Buy เมื่อ Indicator ตัวนี้สามารถวกกลับขึ้นมาจากโซน -80 ขึ้นมาได้
สัญญาณ Sell
ราคาต้องอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย SMMA
MACD ต้องอยู่โซนบน เหนือกว่าเส้น 0
ใช้ William % Range ในการให้สัญญาณการเทรด โดยจะกลับมาเทรด Sell เมื่อ Indicator ตัวนี้สามารถวกกลับลงมาจากโซน -20 ลงมาได้
การใช้ MACD ในการเทรดข้างต้น รวมถึงการตั้งค่าที่เหมาะสมต่างๆ อาจจะแตกต่างจากสิ่งที่คุณเคยได้อ่านหรือได้ยินมาจากอินเตอร์เน็ตบ้าง เหตุผลคือ MACD ซ่อนคุณสมบัติที่มีประสิทธิภาพได้อย่างหนึ่ง ที่เทรดเดอร์หลายคนอาจไม่ได้ดึงประสิทธิภาพจากมันได้เต็มที่ คือ ความสามารถในการจับโมเมมตัม เหมาะมากกับสินค้าที่เทรดเป็นรอบๆ อย่าง Commodity เพราะ MACD เป็นหนึ่งใน Indicator ประเภท Momemtum Indicator ซึ่งทำให้มันสามารถระบุจุดพักตัวของราคาได้ (Retracement)
สิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คือหลักการพื้นฐานการเทรด คือ เมื่อราคาเป็นแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) เราจะ Buy ก็ต่อเมื่อราคาได้ปรับตัวลงมาแล้ว ในขณะที่ หากราคาเป็นแนวโน้มขาลง (Downtrend) เราจะรอ Sell เมื่อราคามันได้มีการ “เด้ง” กลับขึ้นมา คือคุณต้องตระหนักว่า MACD ใช้เป็นสัญญาณเตือนถึงการ Retracement หลังจากนั้น เป็นขั้นตอนการกรอบสัญญาณยืนยันด้วยวิธีการอื่น หากเข้าใจแบบนี้ การเทรดของคุณจะง่ายขึ้นอย่างมาก
MACD ใช้คู่กับอะไรดี ?
-MACD กับ RSI
-MACD กับ Stochastic
-MACD กับ Bollinger Band
-MACD กับ Oscillator
ข้อควรระวังในการใช้ MACD
ไม่ควรเปิดออเดอร์ทันทีเมื่อเกิดสัญญาณ อาจเป็นสัญญาณที่ราคาเปลี่ยนแปลงเพียงชั่วขณะ ดังนั้น เราควรดู MACD Divergence ควบคู่ นอกจากนี้ การใช้อินดิเคเตอร์ตัวอื่นเข้ามาเพื่อช่วยยืนยันสัญญาณให้แม่นยำขึ้น เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ป้องกันความเสี่ยงได้ดี
ขอบคุณข้อมูลจาก Traderbobo และ Admirals
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
แอดเชื่อว่าถ้าคุณทำตามความท้าทาย 30 วันนี้แบบจริงจัง คุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวเองแน่นอน ทั้งในแง่ของทักษะการเทรดและความมั่นใจ อย่าลืมว่าการเทรดไม่ใช่แค่เรื่องของกำไร แต่คือการเดินทางที่คุณได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองตลอดเวลา เอาล่ะ นักเทรดพร้อมไหม?
Order Block คือ พื้นที่สำคัญบนกราฟที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทิศทางของราคา โดยมักเกิดจากคำสั่งซื้อขายขนาดใหญ่จากนักลงทุนสถาบันหรือ Smart Money บนกราฟจะปรากฏในรูปแบบของแท่งเทียนที่มีขนาดใหญ่ผิดปกติและปริมาณการซื้อขายสูง จึงเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญสำหรับนักเทรดในการหาจุดเข้าซื้อ-ขายที่แม่นยำ
ก่อนจะพูดถึงขนาด Lot ที่เหมาะสม เรามาทำความรู้จักกับมันกันก่อน Lot ในตลาด Forex ก็คือ "หน่วย" ของการซื้อขายครับ พูดง่าย ๆ มันเหมือนขนาดชิ้นของเค้ก ถ้าเราซื้อเค้กชิ้นใหญ่ เราก็จะอิ่ม (หรือขาดทุน) เยอะกว่าเค้กชิ้นเล็ก!
มาเป็นผู้ชนะราคาปีใหม่กันเถอะ! มาเป็นผู้ชนะราการทำนายความผันผวนของฟอเร็กซ์!
Vantage
Neex
VT Markets
FXTM
STARTRADER
TMGM
Vantage
Neex
VT Markets
FXTM
STARTRADER
TMGM
Vantage
Neex
VT Markets
FXTM
STARTRADER
TMGM
Vantage
Neex
VT Markets
FXTM
STARTRADER
TMGM